top of page

ขนาดและเส้นผ่าศูนย์กลางท่อPPR

ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และ น้ำหนักของท่อ PPR หากสนใจดูราคาสามารถ

คลิกตรงนี้เพื่อดูราคาท่อ PPR ได้

ขนาดท่อPPR - ตารางเส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และ น้ำหนักท่อPPR

ขนาดท่อPPR, ท่อน้ำอุ่น ท่อน้ำร้อนแบบ ท่อPPR แบบ PN10 และ PN20

ขนาดท่อPPR ท่อพีพีอาร์
น้ำหนักท่อPPR ท่อพีพีอาร์

คู่มือใช้ตารางขนาดและน้ำหนักท่อPPR

สามารถคลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อข้ามไปยังข้อมูลที่ต้องการได้เลยครับ หรือสำหรับมือใหม่ที่ไม่รู้ว่าท่อPPR คืออะไร เลือกซิ้อไม่เป็น สามารถดูคู่มือท่อPPRสำหรับมือใหม่ๆได้

ขนาดท่อPPR ดูยังไง

ตารางขนาดท่อPPR จะประกอบไปด้วยขนาดการใช้งาน เช่น 20มม. หรือ สี่หุน เป็นต้น ขนาดพวกนี้คือขนาดของท่อที่ผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่ายเลือกใช้เพื่อให้ง่ายต่อการเรียก ท่อPPR แต่ละขนาดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน ความหนา และน้ำหนักไม่เท่ากัน ซึ่งผู้ใช้งานและผู้ติดตั้งระบบก็จำเป็นต้องเลือกท่อPPRให้ถูกขนาดเพื่อความง่ายต่อการใช้งาน

 

หลายคนที่ใช้งานท่อน้ำหรือท่อประปาทั่วไปอาจจะคุ้นเคยกับการดูขนาดท่อPVC ท่อเหล็กมาบ้างแล้ว ซึ่งวิธีการดูขนาดท่อส่วนมากก็จะคล้ายๆกันเหล่ะครับ อย่างไรก็ตามท่อPPR ก็เป็นท่อประปาแบบใหม่ มีคุณสมบัติต่างจากท่อPVC ท่อเหล็ก เช่นกัน ในบทความส่วนนี้ เรามาค่อยๆดูกันว่าแต่ละส่วนของตาราขนาดท่อPPR มีอะไร หมายความว่าอะไร และที่สำคัญที่สุดก็คือ...เราจะนำไปใช้งานใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

การเรียกขนาดท่อPPR - ขนาดท่อPPR แบบมิล หุนและนิ้ว

ท่อPPR ส่วนมากจะถูกเรียกด้วยขนาดเป็น ‘มิลลิเมตร’ เช่นท่อ 20มม. ท่อ 25มม. ท่อ 32มม. ซึ่งตัวเลขนี้ก็เป็นตัวเลขเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของจริง ถ้าเราใช้ท่อPPRเพื่อการประปาน้ำอุ่นน้ำร้อน บางทีเราก็อาจจะต้องเคยได้ยินคำว่าหุน และ นิ้วมาบ้าง ซึ่งเป็นขนาดการใช้งานมาตรฐานของท่อPVC ท่อเหล็กประปา สุขภัณฑ์ต่างๆ ที่เราอาจจะต้องนำท่อPPR มาเชื่อมต่อด้วยในระบบ

 

เดิมทีระบบวัดขนาดท่อแบบหุนและนิ้วเป็นวิธีการวัดที่มาจากจีน ซึ่งไทยก็ได้นำระบบวัดแบบนี้มาใช้ด้วย อย่างไรก็ตามท่อPPR ก็เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่มาจากฝั่งยูโรป ซึ่งผู้ผลิตและจัดจำหน่ายท่อPPR ก็ได้เลือกระบบวัดแบบมิลลิเมตรมาเป็นมาตรฐานของPPR แทน ระบบการวัดประปาที่มีทั้งหุนนิ้วและมิลมิเมตรแบบนี้อาจจะทำให้ผู้ใช้งงได้ ผูใช้สามารถดูตารางด้านล่างเพื่อเปรียบเทียบขนาดระหว่างท่อแต่ละชนิดได้

ขนาดท่อPPR - ขนาดท่อPPR แบบมิล หุนและนิ้ว

ขนาดท่อPPR และชั้นความดันท่อPPR (PN10 PN20 คืออะไร) 

 

ท่อPPR ทั่วไปที่ขายอยู่นั้นจะมีขนาดตั้งแต่ขายตั้งแต่ขนาด 25มม ถึงขนาด 160มม (แต่ที่ใช้กันจริงๆก็ใหญ่ถึงแค่ประมาณขนาด 63 มม. เท่านั้น) และท่อแต่ละขนาดก็มีสองชั้นความดันก็คือ PN10 และ PN20

ชั้นความดันท่อPPR คืออะไร? (PN10 PN20 คืออะไร) ชั้นความดันท่อPPR เป็นตัววัดว่าท่อPPR แต่ละเส้นแต่ละขนาดสามารถทนแรงดันน้ำได้มากแค่ไหน โดยที่ท่อPPR ทั่วไปจะมีสองชั้นความดันก็คือ PN10 ที่ทนแรงดันได้ 10bar และ PN20 ที่ทนแรงดันได้ 20bar นอกจากนั้น ท่อชั้นความดัน PN10 ยังเหมาะสำหรับระบบน้ำอุ่นน้ำเย็น และชั้นความดัน PN20 ก็เหมาะสำหรับระบบน้ำร้อนอีกด้วย

 

สุขภัณฑ์ส่วนมากไม่ได้ใช้แรงดันน้ำเยอะหรอกครับ ส่วนที่ใช้แรงดันน้ำเยอะก็คือปั๊มน้ำที่จะลำเลียงน้ำจากถังเก็บน้ำบนตัวอาคารลงมาชั้นล่างๆ ในกรณีที่ตัวอาคารเป็นบ้านขนาดเล็กกว่าสองชั้น ส่วนมากแล้วแรงดันน้ำก็ไม่จำเป็นต้องแรงมากก็สามารถลำเลียงน้ำได้ทั่วบ้านแล้ว อย่างไรก็ตามยิ่งตัวอาคารมีหลายชั้น และมีหลายที่ที่ต้องจ่ายน้ำเข้า เราก็ต้องออกแบบระบบปั๊มน้ำให้เหมาะสม ซึ่งก็หมายความว่าท่อประปาท่อน้ำของเราก็ต้องสามารถรองรับระบบแรงดันจากปั๊มให้ได้ด้วย

ขนาดท่อPPR เส้นผ่าศูนย์กลาง และ ความหนา

 

ท่อประปาแบบท่อPPR จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก (Outside Diameter) เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน (Internal Diameter) และความหนา (Thickness)

 

เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกจะเป็นตัวบอกว่าท่อเรามีขนาดเท่าไร ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นตัวเลขที่มีไว้จำกัดการใช้งานของท่อ ยกตัวอย่างเช่น ท่อเราเหมาะสำหรับข้อต่อแบบไหน ควรต่อเข้ากับสุขภัณฑ์ตัวไหนบ้าง เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกสามารถวัดได้ง่ายด้วยการวัดจากไม้บรรทัดหรือเราจะดูตามสกรีนท่อPPRเลยก็ได้ว่าท่อมีขนาดเท่าไร

 

ความหนาของท่อ เป็นหนึ่งในตัวบอกว่าท่อมีความทนทานเท่าไร (อีกตัวหนึ่งก็คือคุณภาพของวัตถุดิบ แต่ความหนาดูง่ายกว่าเยอะมากเพราะเห็นได้ด้วยตาเปล่า) ซึ่งความทนทานหมายความว่าท่อสามารถทนได้ทั้งแรงดันภายใน (แรงดันน้ำ) หรือแรงดันภายนอก (เช่นเวลานำท่อไปฝังดิน ฝันกำแพง) เป็นต้น ท่อที่ไม่ทนทาน ไม่สามารถรับแรงดันภายในหรือภายนอกได้ ก็จะเกิดอาการรั่วและแตกได้

 

หากเรานำ ‘เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก’ มาลบด้วย ‘ความหนา’ เราก็จะได้เส้นผ่าศูนย์กลางภายในหรือก็คือปริมาตรภายในท่อทรงกระบอกของเรานี่เอง ปริมาตรนี้จะเป็นตัวบอกว่าท่อของเราสามารถลำเลียงน้ำได้เท่าไร โดยรวมแล้วช่างออกแบบระบบประปาจำเป็นต้องคำนวณว่าท่อแต่ละส่วนสามารถ ‘ลำเลียงน้ำ’ ไปออกสุขภัณฑ์แต่ละจุดได้หรือเปล่า อาคารที่น้ำไม่ไหลบ่อยๆส่วนมากก็จะมาจากปัญหาตรงนี้ 

 

สรุปง่ายๆครับ สำหรับขนาดท่อPPR

 

เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก (Outside Diameter) = 

          เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน (Internal Diameter) + ความหนา (Thickness)

 

ตัวเลขพวกนี้อาจจะไม่มีความหมายอะไรสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่คนออกแบบระบบท่อประปาก็ต้องใช้บ่อยอยู่ครับ

ขนาดท่อPPR เส้นผ่าศูนย์กลาง และ ความหนา

ขนาดท่อPPR และปริมาตรน้ำ

 

หน้าที่หลักของท่อประปาท่อน้ำก็คือการลำเลียงน้ำจากหนึ่งจุดไปอีกจุด เพราะฉะนั้นปริมาตรน้ำและความจุของท่อPPRแต่ละขนาดก็เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องคำนึงถึงเช่นกัน ปริมาตรน้ำคือตัวเลขที่บอกว่าท่อแต่ละเมตรสามารถจุน้ำได้เท่าไร ซึ่งเราก็ต้องน้ำตัวเลขนี้ไปเทียบกับสุขภัณฑ์ต่างๆของเราอีกทีว่าเราสามารถลำเลียงน้ำได้เพียงพอแค่ไหน

 

สามารถดูปริมาตรน้ำของท่อPPR แต่ละขนาด แต่ละชนิดได้ดังนี้ครับ

ขนาดท่อPPR และปริมาตรน้ำ

เราจะเห็นได้ว่าปริมาตรน้ำสำหรับท่อ PN10 นั้นเยอะกว่าปริมาตรน้ำของท่อPN20 นั่นก็เพราะว่าในขณะที่ ‘เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก’ ของท่อสองอย่างนี้เท่ากัน ความหนาของท่อPN20 ก็เยอะกว่าท่อPN10 พอสมควร ซึ่งก็ทำให้ ‘เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน’ ของท่อPN20 มีน้อยลง ซึ่ง ‘เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน’ ถ้าพูดง่ายๆก็คือพื้นที่จุน้ำนั่นเอง

 

ตัวเลขนี้สำหรับคนทั่วไปก็คงไม่ได้ใช้อะไรเท่าไรหรอกครับ เพราะตัวท่อถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานประปาส่วนมากอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณต้องคำนวณเพื่อทำระบบประปาแบบพิเศษของคุณ คุณก็อาจจะต้องดูปริมาตรน้ำด้วย

ขนาดท่อPPR แบบ PN10 และ PN20

ภาพด้านล่างคือตัวเลข ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ความหนา และ น้ำหนักของท่อ PPR หากสนใจดูราคาท่อPPR สามารถ คลิกตรงนี้เพื่อดูราคาท่อ PPR ได้

Outside Diameter = เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก (มม.)

Thickness = ความหนา (มม.)

Inside Diameter = เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน (มม.)

Weight = น้ำหนัก (กก ต่อ เมตร)

ขนาดท่อPPR - 1
ขนาดท่อPPR - 2
ขนาดท่อPPR - 3
ขนาดท่อPPR - 4
ขนาดข้อต่อท่อPPR แบบ PN10 และ PN20 - 1

ขนาดข้อต่อท่อPPR แบบ PN10 และ PN20

ขนาดข้อต่อท่อPPR แบบ PN10 และ PN20 - 2
ขนาดข้อต่อท่อPPR แบบ PN10 และ PN20 - 5
ขนาดข้อต่อท่อPPR แบบ PN10 และ PN20 - 3
ขนาดข้อต่อท่อPPR แบบ PN10 และ PN20 4

สนใจปรึกษาเรื่องขนาดท่อPPR

เราให้คำปรึกษาเรื่องการใช้งาน การจัดซื้อ การทำใบเสนอราคา ฟรี!

(เวลาทำการ: 8:00AM – 5:00PM)

ปรึกษาเรื่องท่อทันที ติดต่อ

1 รามอินทรา 52/1 รามอินทรา 

คันนายาว กรุงเทพ 10230

info@vlineproduct.com  |  Tel: 086-310-8771

Line: @VLineProduct (มี @ ข้างหน้า)

AddLine.png
bottom of page