top of page
Search
  • VLine

10 วิธีหางานรับเหมาประปา - หางานวิธีไหนง่ายสุด

เราทำงานด้านการประปามาซักพักแล้ว แถมผ่านการอบรบความรู้เฉพาะทางด้านนี้มาแล้วด้วย


แต่ทำไมงานรับเหมาประปาถึงหายากจังนะ


วันนี้เรามาลองดูกันว่าปกติแล้วช่างรับเหมาประปาหางานกันยังไง ไม่ว่าคุณจะเป็นซับคอนแทรค หรือ ช่างประปา คุณก็สามารถนำ 10 วิธีนี้ไปใช้ได้แน่นอน


10 วิธีหางานรับเหมาประปา


วิธีการหางานรับเหมาประปาแต่ละอย่างขึ้นอยู่กับความถนัด และเส้นสายของคุณ ให้ลองศึกษารายการด้านล่างดูแล้วเลือกว่าวิธีไหนเหมาะกับคุณที่สุด หากลองแล้วรู้สึกว่าไม่ได้ผลหรือไม่เหมาะกับตัวเองก็ให้ลองเปลี่ยนไปทำวิธีอื่นดูก่อนนะครับ


อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่ควรพึ่งพาวิธีหางานอันใดอันหนึ่งมากเกินไป เราควรจะมีหลายช่องทางที่สามารถหารายได้หรือหางานให้เราได้ ไม่อย่างนั้นวันไหนที่ช่องทางพวกนี้หายไปเราจะลำบากภายหลังครับ


หากเข้าใจกันแล้วก็ไปดู 10 วิธีหางานรับเหมาประปากันได้เลย


#1 ออกไปหาผู้รับเหมาใกล้ตัวคุณ


หากคุณเป็นช่างหรือเป็ยซับคอนแทรคคุณก็ต้องพึ่งพาผู้รับเหมารายใหญ่ แต่คุณก็ไม่ควรรอให้ผู้รับเหมามาหาคุณเอง ให้ลองดูรายชื่อผู้รับเหมาใกล้ตัวคุณ ไม่ว่าจะไปหารายชื่อจากกรมธุรกิจ หาข้อมูล google หรือไปงานสัมนาต่างๆก็ตาม การรักษาความสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้ไว้มีประโยชน์แน่นอน


แน่นอนว่าถ้าแค่หาหรือพูดคุยกับผู้รับเหมาครั้งสองครั้งคงไม่พอที่จะหางานได้ ผู้รับเหมาแต่ละคนต้องวางแผนงานเสมอเพื่อจะดูว่าแต่ละเดือนหรือแต่ละช่วงงานมากน้อยแค่ไหน นอกจากนั้นแล้วก็ยังต้องดูเรื่องการตลาดและการขาย และวางแผนงานว่าจะให้ซับคอนเทรคคนไหนลงงานส่วนไหนดี นี่ยังไม่รวมการที่ต้องคุยกับซัพคอนแทรคหรือช่างที่มาของานทุกวันนะครับ


เพราะฉะนั้นแล้วเราก็ควรหาวิธีติดต่อผู้รับเหมาทุกวัน ทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของงานไปเลย ให้คุณแบ่งเวลามาหาผู้รับเหมาใหม่ๆและหาวิธีบอกผู้รับเหมาพวกนี้ว่าคุณยังหาโอกาสทำงานอยู่


บางครั้งคุณอาจจะต้องเข้าไปดูพวกฐานข้อมูลผู้รับเหมาออนไลน์เพื่อจะหาเบอร์โทรหรือวิธีติดต่อใหม่ๆ หรือบางครั้งคุณอาจจะต้องทำรายชื่อกลุ่มผู้รับเหมาที่เราต้องกลับไปพูดคุยอีกรอบ หากเราทำแบบนี้เรื่อยๆเราก็จะหางานได้เรื่อยๆครับ


#2 Google หาโฆษณา ‘รับผู้รับเหมา’ ‘รับช่างประปา’

บางทีเราก็ต้องมีลูกเล่นในการหาข้อมูลออนไลน์บ้าง การใช้คำให้ถูก เช่น ‘รับผู้รับเหมา’ แทนที่จะใช้คำว่า ‘หางาน’ อาจจะฟังดูต่างกันนิดเดียวแต่ชนิดงานที่คุณจะเห็นต่างกับลิบลับ แทนที่คุณจะพิมพ์ว่า ‘งานประปา’ ‘งานรับเหมา’ ก็ให้พิมพ์ว่า ‘อยากได้ช่างประปา’ หรือ ‘อยากได้ผู้รับเหมา’ แทน เราต้องค้นหาคำในมุมมองของผู้จ้าง


ถ้าคุณมีความถนัดเฉพาะทาง เช่น ประปาคอนโด หรือ ประปาหมู่บ้าน เราก็สามารถใส่เข้าไปได้เพื่อที่จะทำให้เราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เราต้องการมากขึ้น ยิ่งเราสามารถใส่รายละเอียดงานได้ตรงกับความต้องการของผู้จ้างมากเท่าไร ก็จะเสียเวลาดูงานที่ไม่เหมาะกับเราน้อยลงเท่านั้นครับ คนที่ทำไม่เป็นอาจจะใช้เวลาอยู่ใน Google เป็นหลายชั่วโมงแต่ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันออกมาเลยก็ได้


#3 สร้างเว็บไซต์ ‘รับงานประปา’

ในฐานะช่างหรือซับคอนแทรค คุณอาจจะคิดว่าไม่ต้องการเว็บไซต์ก็ได้เพราะการทำเว็บมันสำหรับผู้รับเหมาใหญ่เท่านั้น แต่ในสมัยนี้ลูกค้าบางคนก็เริ่มหาช่างออนไลน์แล้ว แถมผู้รับเหมาบางคนเวลาขาดคนก็หาซับคอนแทรคออนไลน์เหมือนกัน


การสร้างเว็บ ‘หางานรับเหมาประปา’ ทำให้ผู้รับเหมาเจ้าอื่นหาคุณได้ง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากว่าซับคอนแทรคคนอื่นไม่ได้ทำเว็บไซต์กันคุณก็จะดูแตกต่างออกมาจากคนอื่นด้วย เว็บไซต์จะเป็นพื้นที่ให้คุณลงข้อมูลอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นข้อมูลติดต่อ ภาพผลงานที่ผ่านมา หรืออธิบายขายความสามารถของตัวเองก็ตาม


ในกรณีที่คุณรับงานเล็กด้วย คุณก็ให้ข้อมูลลูกค้าเพิ่มได้ด้วยเช่นงานนี้เหมาะกับคุณหรือเปล่า คุณรับงานในพื้นที่ไหน ราคาเบื้องต้นเท่าไรบ้าง เป็นต้น ข้อมูลพวกนี้จะ ‘ลดคำถามประจำ’ ที่ลูกค้าโทรมาถามคุณเรื่อยๆ คุณจะได้ประหยัดเวลาส่วนนี้ไปทำงานที่มีค่าต่อธุรกิจมากกว่า


ในฐานะผู้ทำระบบเจ้าเล็กเราอาจจะคิดว่าการทำเว็บไซต์เป็นเรื่องยาก แต่ความจริงแล้วเราสามารถจ้างคนทำได้ง่ายๆ งบประมาณ 7-8000 บาทเท่านั้นเอง หรือถ้าคุณคิดว่ามันยังยากไปก็ให้ลองทำเฟสบุ๊คเพจของธุรกิจคุณขึ้นมาก่อนชั่วคราวก็ได้ครับ แต่สุดท้ายแล้วผมก็แนะนำให้ทำเว็บอยู่ดี


#4 สร้างเครือข่ายธุรกิจในท้องถิ่น

ถ้าเนื้องานของคุณเป็นงานในพื้นที่ คุณก็ควรออกไปพูดคุยสร้างเครือข่ายกับธุรกิจในท้องถิ่นบ้าง ส่วนมากแล้วคุณควรเข้าไปคุยกับธุรกิจที่ทำงานร่วมกับผู้รับเหมาบ่อยๆแล้วก็แจกนามบัตร หรือ ใบปลิวเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ หากผู้รับเหมาเข้ามาเยี่ยมเยียนก็จะได้เห็นธุรกิจของคุณด้วย


ลองคิดดูว่าผู้รับเหมาส่วนมากเข้าไปหาธุรกิจแบบไหนบ้าง และผู้รับเหมาพวกนี้จะสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณได้ยังไง


ยกตัวอย่างเช่นร้านฮาร์ดแวร์ ร้านขายวัสดุประปา ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านขายเครื่องจักร ร้านขายสี ปั๊มแก๊ซสำหรับรถขนส่งขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ร้านอาหารร้านสะดวกซื้อใกล้ตัวผู้รับเหมา ลองถามพวกร้านพวกนี้ดูว่าจะขอฝากนามบัตรหรือใบปลิวไว้ได้มั้ย เผื่อผู้รับเหมาเดินผ่านแล้วเค้าจะได้เห็นใบปลิวของคุณ


#5 โฆษณา

หากงานของคุณเป็นงานเฉพาะพื้นที่ก็ให้ลองหาพวกนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์เฉพาะทางดูครับ สำหรับงานประปาก็จะเป็นพวกนิตยสารตกแต่งบ้านหรือพวกเกี่ยวกับก่อสร้างเป็นต้น ให้ลองดูว่าสื่อพวกนี้มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองหรือเปล่า และ เว็บไซต์ดังกล่าวรับลงโฆษณาไหม หากคุณมีงบหน่อยการลงโฆษณาระยะยาวก็จะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าการลงแค่อาทิตย์สองอาทิตย์


ถ้าคุณสามารถย้ายงานได้ การลงโฆษณาในสื่อที่ใหญ่หน่อยก็เป็นทางเลือกที่ดี ลองหาสื่อที่มีคนอ่านเยอะหน่อย โดยเฉพาะผู้อ่านจากเมืองใหญ่ๆที่น่าจะมีงานเยอะ ให้จดไว้ด้วยว่าโฆษณาพวกนี้ลงถึงวันไหนเผื่อโฆษณาหมดอายุคุณจะได้ต่อโฆษณาทัน


#6 เขียนบทความสำหรับเว็บไซต์

เว็บไซต์จะมีคนเข้ามากกว่าถ้ามีบทความ เพราะฉะนั้นหลายเว็บเลยเริ่มหันมาเขียนบล็อกมากขึ้น บางเว็บก็จะอนุญาตให้คนอื่นเขียนบทความลงเว็บตัวเองได้ด้วย บางเว็บอาจจะเก็บเงินค่าให้ลงบทความ ส่วนบางเว็บก็จะให้ลงฟรี แต่สิ่งที่คุณต้องถามก่อนก็คือเว็บพวกนี้อนุญาติให้คุณลงเบอร์โทร อีเมล หรือชื่อเว็บส่วนตัวของคุณไหม


คุณอาจจะไปจ้างฟรีแลนซ์เขียนบทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของคุณ (บทความ 1000-2000 คำ ตกคำละหนึ่งบาทเป็นต้น) จะเป็นข้อมูลการทำระบบประปา หรืออะไรก็ได้ แล้วก็ปล่อยบทความให้เจ้าของเว็บลงฟรีๆ แลกกับการที่บทความของคุณมีการเขียนขายของให้คุณนิดหน่อย


สำหรับช่างประปา เราก็อาจจะดูไอเดียบทความง่ายๆเช่น ‘การซ่อมห้องน้ำรั่วแบบง่ายๆ’ หรือ ‘วิธีต่อท่อเมนสำหรับมือใหม่’ เป็นต้น คุณจะให้ผู้รับเหมาเอาบทความพวกนี้ไปลงเว็บของเค้าก็ได้นะ เพราะบทความพวกนี้จะช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับคุณ บทความจะมีชื่อ ที่อยู่ และวิธีติดต่อคุณอยู่ และคนอ่านก็จะสามารถเข้าถึงคุณได้ง่าย


#7 งานแสดงสินค้าต่างๆ

ทุกอุตสาหกรรมมีงานแสดงสินค้าเสมอครับ คุณอาจจะไปออกงานใหญ่ระดับประเทศหรือไปออกงานประจำพื้นที่ของคุณก็ได้ หากคุณทำงานด้านการประปาอย่างเดียวก็อาจจะไปงานสัมนาพวกการประปาแทนก็ได้ หากเป็นไปได้ให้ไปออกบูทของตัวเองแต่ถ้างบของเราไม่ถึง (บูทอาจจะมีค่าใช้จ่ายเป็นหลักแสน) ก็ให้ไปเดินงานในฐานะผู้เยี่ยมชมไปก่อน ลองทิ้งนามบัตรหรือใบปลิวไปตามบูทที่คุณสนใจครับ


ให้ติดตามข่าวเรื่องงานพวกนี้ให้ดี เพราะตามห้างหรือตามเมืองต่างๆจะมีงานไม่เหมือนกัน อาจจะไปเดินงานบ้านและสวน งานก่อสร้าง งานประปา หรือแม้แต่งานสถาปนิกก็ได้ หากเราไปเดินถูกงานบางทีเราได้งานครั้งละสองสามเจ้าพร้อมกันเลยนะครับ


#8 เว็บผู้ผลิตหรือจำหน่ายสินค้า


คุณอาจจะคิดว่าผู้ผลิตเจ้าใหญ่คงไม่สนใจผู้รับเหมาหรือช่างเจ้าเล็กหรอกใช่ไหมครับ แต่เว็บผู้ผลิตส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นพวกเครื่องจักร อุปกรณ์ประปา หรือวัสดุก่อสร้าง ก็มีส่วนแนะนำช่างเหมือนกัน ให้ลองหาเว็บที่มีหน้า ‘การเชื่อมต่อผู้จัดจำหน่าย’ (Supplier Connection) ไว้ก่อน หน้าพวกนี้จะดูเหมือนสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองที่มีชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติดต่อครับ


#9 อาสาสมัคร

ผู้รับเหมาส่วนมากจะทำการช่วยสังคมบ่อยนะครับ ถ้าไม่บริจาคเงินก็จะทำโครงการช่วงสังคมบ้าง บางคนก็ถือว่าเป็นการทำบุญพร้อมกับการทำการตลาด ให้ลองสังเกตุดูว่ามีโอกาสที่คุณจะไปเข้าร่วมโครงการพวกนี้ได้บ้างไหม เพราะมันเป็นการช่วยคนอื่นแล้วก็หาเส้นสายเพิ่มไปในตัวเลย


ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะเห็น ผู้รับเหมาประกาศโฆษณาช่วยซ่อมโรงเรียนวันเสาร์ หากคุณทำงานที่สามารถช่วยได้ คุณก็สามารถติดต่อไปว่ามีหน้าที่อะไรให้คุณสามารถร่วมงานด้วยได้ไหม


บางครั้งถ้ามีเหตุการดินทรุดหรือน้ำท่วมพวกบริษัทก่อสร้างก็อาจจะเข้าไปช่วยพื้นที่ขาดแคลน โดยเฉพาะพื้นที่ที่รัฐอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญหรือมีรายได้น้อยเป็นต้น โอกาสพวกนี้มีเยอะมากแต่อาจจะหายากนิดหน่อยถ้าเราไม่ใส่ใจลองสังเกตุเรื่อยๆ


ไม่ว่าคุณจะซับคอนแทรคหรือเป็นช่างประปา คุณก็สามารถเข้าไปช่วยได้เสมอ คุณอาจจะขอให้คนอื่นช่วยแนะนำลูกค้าให้ หรือ ช่วยเพื่อสร้างผลงานไว้ขายลูกค้าต่อก็ได้ครับ พื้นที่ที่ประสบภัยเหมาะสำหรับการทำภาพ ‘ก่อนสร้าง’ และ ‘หลังสร้าง’ เสร็จแล้วมาก หากคุณมีเว็บหรือเฟสบุ๊คเป็นของตัวเองก็ยิ่งดีเลยครับ วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่กำลังเริ่มหางานรับเหมาประปาที่ยังเคยมีผลงานของตัวเองมาก่อ

#10 ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่างๆ

องค์กรภาครัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมีการช่วยเจ้าของธุรกิจอยู่เรื่อยๆ ให้ไปลองเข้าโปรแกรม หรือ ซื้อโฆษณาผ่านองค์กรพวกนี้เพื่อเข้าหาลูกค้าหรือคู่ค้าทางธรุกิจใหม่ๆดูได้ครับ


นอกจากนี้แล้วคุณยังสามารถหาองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของคุณได้อีก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเกี่ยวกับแรงงาน หรือ เกี่ยวกับการพัฒนาบ้านและระบบประปาเป็นต้น บางองค์กรอาจจะมีค่าสมาชิกนิดหน่อย แต่ถ้าเรามองว่าเป็นค่าการเข้าสังคมเพื่อหาคู่ค้าภายหน้าก็เป็นค่าใช้จ่ายไม่เท่าไรหรอกครับ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนหางานรับเหมาประปา

หลักจากที่เราดูวิธีการหางานรับเหมาประปาไปแล้ว ให้ลองศึกษาข้อแนะนำด้านล่างนี้เพื่อให้คุณสามารถรักษางานได้ในระยะยาวนะครับ


เวลาหางานซับคอนแทรค ให้คิดว่ามันเหมือนการที่คุณต้องไปรับสมัครงานบริษัท หากใครที่เคยทำงานประจำมาก่อนก็คงเข้าใจความรู้สึกดี อย่าคิดว่าเพราะคุณโพสหางานไปแล้วที่เดียวแล้วจะมีคนเข้ามาถามคุณสิบคนทันที มีผู้รับเหมาและช่างหลายคนที่กำลังหางานอยู่เหมือนกันและโพสหางานของเราไม่กี่อันก็อาจถูกบดบังได้ ของที่ฟรีและไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลยส่วนมากก็มีคู่แข่งเยอะทั้งนั้น


การติดต่อลูกค้า หรือ ผู้รับเหมา ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำบ่อยๆ ผู้รับเหมาและช่างหลายคนเป็นคนที่มีฝีมือและประสบการณ์เยอะ แต่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับการคุยกับลูกค้าหรือทำการตลาด อย่าคิดว่าแค่เราแจกนามบัตร หรือ ใบปลิวแล้วจะเพียงพอ บางครั้งผู้รับเหมาที่เราติดต่ออาจจะมีการเปลี่ยนพนักงานก็ได้ทำให้การติดต่อเกิดการขาดหายไป ซึ่งคนที่มาใหม่ก็ไม่รู้จักคุณมาก่อนด้วยซ้ำ ให้พยายามทำความรู้จักหลายๆคนและดูแลความสัมพันธ์นี้ให้ดี


สื่อต่างๆของคุณ เช่นเว็บไซต์ หน้าเฟสบุ๊ค ใบปลิว หรือ นามบัคร ควรจะดูดีหน่อยครับ เดี๋ยวนี้บริการรับออกแบบราคาไม่แพงมากหากคุณมีเวลาควรจะลงทุนด้านนี้นิดนึง หากคุณออกแบบสื่อต่างๆดี คุณจะสามารถทำตัวให้แตกต่างจากคู่แข่งได้ง่าย


นอกจากนั้นแล้วสื่อที่ดีคือสื่อที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ ลูกค้าก็จะลังเลน้อยลงในการซื้อ หากคุณไม่อยากลงทุนกับการออกแบบ ผมแนะนำให้หาตัวอย่างออนไลน์แล้วก็ลอกตามไปเลยก็ได้ ลองถามเพื่อนหรือครอบครัวของคุณดูว่าหน้าตาเป็นยังไง หากเป็นไปได้ควรขอคำแนะนำจาก ‘ผู้ใช้’ หรือคนที่จะจ้างคุณนะครับ เพราะคนพวกนี้จะเป็นคนที่อ่านสื่อของคุณจริงๆ


นอกจากนั้นเรายังต้องจับตาดูคู่แข่งของเราด้วยว่าพวกนั้นหางานใหม่ด้วยวิธีไหนบ้าง ให้ลองดูพวกเว็บรวมผู้รับเหมาและช่างประปาเพื่อหาคนที่ให้บริการที่คล้ายๆกับธุรกิจของคุณ ลองดูว่าเว็บของคนพวกนี้หน้าตาเป็นยังไง และ ผู้รับเหมาส่วนมากชอบเว็บหน้าตาแบบไหน ลองดูว่าพวกนี้คิดราคาเท่าไร และ มีบริการใหม่อะไรบ้างที่คุณสามารถทำตามได้


คู่แข่งอาจจะลงข้อมูลลูกค้าเก่าหรือผู้รับเหมาที่เคยร่วมงานด้วยไว้ในเว็บไซต์ ให้ลองติดบริษัทพวกนั้นและลองดูว่าราคาของคุณสามารถแข่งได้หรือเปล่า คุณไม่ต้องเอ่ยชื่อคู่แข่งหรือพูดให้ผลงานของพวกนั้นดูไม่ดี แค่ลองดูว่าถ้าลูกค้าพวกนี้เคยจ้างคู่แข่งเราเค้าอาจจะสนใจจ้างเราด้วยก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราเจอรายชื่อบริษัทพวกนี้ในเว็บไซต์ของคู่แข่งก็ให้เราส่งนามบัตรหรือข้อมูลติดต่อไปได้

1,239 views0 comments
bottom of page