top of page
Search
  • VLine

ท่อประปา - สุดยอดคู่มือการเลือกใช้งาน เข้าใจง่ายมากๆ

คำว่าท่อประปาและระบบประปา หากไม่ใช่คนที่มีความรู้เฉพาะทางจริงๆก็คงรู้สึกว่าเข้าใจยาก เพราะทางมีคำศัพท์ เฉพาะตัวคำศัพท์ทางเทคนิคเยอะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นชนิดพ่อต่างๆ วิธีการเดินระบบน้ำ หรือประเภทของสุขภัณฑ์ต่างๆ


ในวันนี้เรามาลองดูกันว่าท่อน้ำที่ใช้เป็นท่อประปาแต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเราควรจะต้องศึกษาอะไรบ้างก่อนที่เราจะไปจ้างช่างประปาหรือผู้รับเหมาเดินระบบให้เรา


ท่อประปาคืออะไร ท่อประปาPVC ท่อประปาPPR

ท่อประปาคืออะไร มีบทบาทยังไงกับการต่อระบบประปา


ท่อประปา คือท่อที่มีไว้สำหรับลำเลียงน้ำเพื่อการประปาในอาคาร ในประเทศไทยท่อประปามีอยู่ 3 ชนิด ก็คือท่อประปาแบบ ท่อPVC ท่อPPR และท่อเหล็ก ซึ่งท่อแต่ละชนิดก็จะมีราคา คุณภาพ และวิธีการใช้งานที่ต่างกัน


น้ำประปาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ แปรงฟัน ล้างจาน เข้าห้องน้ำ ทุกคนก็ต้องมีการใช้น้ำในอาคารทั้งนั้น


การใช้น้ำแต่ละอย่างก็มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน การอาบน้ำก็ต้องมีต่อสายน้ำร้อนน้ำอุ่น สุขภัณฑ์ต่างๆพวกก๊อกน้ำ หรือในห้องครัวก็ต้องมีการควบคุมแรงดันน้ำให้เหมาะสม นอกจากนั้นเรายังต้องคำนึงถึงความทนทานของระบบประปาด้วย เช่นกันเดินท่อฝังดิน ฝังกำแพง หรือบนเพดาน


นอกจากนั้นแล้วการประปาที่ดียังต้องมีความสะอาดและปลอดภัยอีกด้วย หมายความว่าการลำเลียงน้ำต้องไม่ทำให้เกิดสารเคมีอะไรที่เป็นผลร้ายต่อร่างกายผู้ใช้ และยังไม่ทำให้เกิดอันตรายประเภทกันน้ำรั่วหรือไฟฟ้ารั่ว ซึ่งก็แปลว่า ท่อที่ใช้ในการลำเลียงน้ำนั้นต้องมีความน่าเชื่อถือและทนทาน


ในส่วนต่อไปของบทความเรามาดูกันว่า ท่อประปาแต่ละชนิดทำอะไรได้บ้าง และมีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงบ้าง


ท่อประปาแต่ละชนิด ต่างกันยังไง ใช้งานแบบไหนได้บ้าง


ตามที่ได้อธิบายไปในส่วนที่แล้ว ท่อประปาที่คนไทยนิยมใช้กันในตัวอาคารมีอยู่ 3 อย่าง ก็คือท่อประปาท่อ PVC ท่อ PPR แล้วก็ท่อเหล็ก





ท่อ PVC - ท่อ PVC หรือที่คนรู้จักกันว่าท่อพลาสติกสีฟ้า เป็นท่อประปาแบบมาตรฐานทั่วไปที่ควรส่วนมากนิยมใช้กันในการประปาเพราะว่าคุณภาพเทียบกับราคาแล้วถือว่าคุ้มราคาที่สุดในตัวเลือกท่อประปาทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วท่อPVC ยังหาซื้อได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ทำให้เหมาะสำหรับทั้งงานประปาแบบใหญ่ๆและทั้งงานซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆด้วย


ท่อ PVC สีฟ้า ที่จำหน่ายสำหรับการประปามีอยู่หลายขนาดตั้งแต่ครึ่งนิ้ว ถึง 12นิ้ว และท่อแต่ละขนาดก็มีหลายชั้นความดัน (ชั้น5 8.5 13.5 ขึ้นอยู่กับแรงดันน้ำที่ต้องการ) ทำให้ผู้ออกแบบระบบประปาสามารถเลือกจัดซื้อท่อให้ราคามีความสมเหตุสมผลกับการใช้งานได้ง่าย นอกจากนั้นแล้วผู้ซื้อยังสามารถดูมาตรฐานการใช้งานท่อ PVC ประปาได้ผ่าน มอก. อีกด้วย


สิ่งที่ควรระวังเวลาซื้อท่อ PVC ก็คือเราไม่ควรเลือกซื้อท่อที่มีราคาถูกเกินไป เพราะท่อพวกนั้นอาจจะเป็นท่อสำหรับการเกษตรก็ได้ เพราะสินค้าท่อ PVC สำหรับการประปาและการเกษตรนางมีหน้าตาคล้ายๆกัน มีแต่ว่าท่อการเกษตรจะไม่สามารถรับแรงดันน้ำได้ดีเท่าๆประปาในบ้าน ทำให้เหมือนจะประหยัดในระยะสั้น แต่ในระยะยาวก็ต้องเปลี่ยนท่อใหม่อยู่ดี


ท่อ PPR - ท่อPPR คือท่อสีเขียว ที่คนนิยมนำมาใช้สำหรับการเดินน้ำอุ่นและน้ำร้อนจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำท่อ PVC มาใช้ได้ ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง และการใช้งานแบบเฉพาะทางนี้เอง ทำให้ท่อ PPR ถือว่าหาซื้อได้ยากและยังไม่ค่อยมีการใช้งานที่แพร่หลายเท่าไหร่


ท่อPPR ที่จำหน่ายทั่วไปมีอยู่ 2 เกรด ก็คือท่อ PN10 สำหรับน้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศา และท่อ PN20 สำหรับน้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 90 องศา นอกจากนั้น ท่อPN20 ยังสามารถใช้งานในงานประปาที่ต้องทนแรงดันได้มากกว่าเดิมด้วย


เนื่องจากว่า ท่อ PPR เป็นสินค้าที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย ยังไม่มีการใช้งานที่แพร่หลายมาก ทำให้ท่อ PPR แต่ละแบรนด์มี ‘ราคากลาง’ หรือ ‘ราคาตลาด’ ไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้ใช้และผู้จัดซื้อหลายคนปวดหัวกันมาก นอกจากนั้นท่อ PPR ยังไม่ได้มีมาตรฐานตามอุตสาหกรรมไทยรองรับอีก (ยกตัวอย่าง เช่น มอก. แบบท่อPVC) ทำให้ผู้ซื้อสินค้าส่วนมากมีความลังเลที่จะใช้งาน


ส่วนเรื่องอายุการใช้งานของท่อ PPR ก็เป็นสิ่งที่พูดยาก ท่อ PPR เพิ่งถูกนิยมใช้อย่างแพร่หลายเมื่อไม่กี่สิบปีนี้ เนื่องจากอายุการใช้งานของท่อตามผู้ผลิตบอกไว้คือ 50-60 ปี เราก็ยังฟันธงไม่ได้ว่าท่อประปาตัวนี้คุ้มราคาจริงแค่ไหนกัน แต่เท่าที่ลองดูมาก็ยังไม่มีคนบ่นอะไรกันนะครับ


ในอดีต ตัวเลือกสำหรับระบบประปาท่อน้ำอุ่นน้ำร้อนในประเทศไทย ก็คือ ‘ท่อเหล็ก’ อย่างไรก็ตามท่อเหล็กก็มีข้อเสียหลายอย่างมาก


เนื่องจากว่าท่อPPR ถือว่าเป็นท่อที่มีความใหม่ มีคนรู้จักน้อย ผมแนะนำให้คนที่สนใจลองศึกษาคู่มือนี้ดู


ท่อเหล็ก - ท่อเหล็กเป็นท่อสำหรับการประปาที่มีมานานแล้ว มีมาก่อนท่อ PVC ซะอีก อย่างไรก็ตามหลักจากที่ประเทศไทยเริ่มผลิตท่อ PVC ได้เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว การงานของท่อเหล็กลดลงมาเยอะมาก


ขึ้นชื่อว่าท่อเหล็กสิ่งแรกที่เรามั่นใจได้เลยก็คือความทนทาน เหล็กจะแข็งแรงมากกว่าพลาสติก และจะไม่เปราะง่าย ทำให้มีการใช้งานได้นาน ทนแรงดันน้ำก็ได้ ใช้เป็นท่อน้ำอุ่นน้ำร้อนก็


อย่างไรก็ตามเหล็กก็มีราคาแพงกว่าพลาสติก ท่อเหล็กก็จะมีราคาแพงกว่าท่อ PVC และ PPR มาก บวกกับการที่ท่อเหล็กมีน้ำหนักเยอะ จัดเก็บยาก ขนส่งก็ยาก ติดตั้งลำบาก ทำให้การใช้งานของท่อเหล็กเพื่อการประปานั้นลดลงเรื่อยๆ เรียกว่าถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ก็คงไม่มีใครใช้


ท่อเหล็ก เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าท่อกัลวาไนซ์ (galvanized) เป็นการเคลือบเหล็กด้านในด้วยเทคนิคทางไฟฟ้าและเคมีเพื่อทำให้เหล็กใช้งานกับน้ำประปาได้ ไม่เกิดสนิมในระยะยาว แถมยังป้องกันปัญหาไฟฟ้ารั่วเข้าไปในระบบน้ำได้บางส่วนด้วย


หลังจากที่เราอธิบายเรื่องท่อประปาแต่ละอย่างแล้ว เรามาลองดูราคาท่อประปาแต่ละอย่าง โดยเฉพาะท่อ PVC และท่อ PPR เพื่อเปรียบเทียบราคากับคุณค่าจากการใช้งานบาง


ราคาท่อประปา PVC


ท่อPVC หรือท่อน้ำประปาสีฟ้านั้นเป็นสินค้าที่หาซื้อง่าย เนื่องจากว่าสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าที่มีจำหน่ายมานานหลายสิบปีแล้ว ทำให้กระบวนการซื้อขายหลายๆอย่างมีมาตรฐานมากขึ้น เพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภค


ซึ่งมาตรฐานที่ผู้บริโภคส่วนมากสนใจมากที่สุดก็คือ ‘มาตรฐานด้านราคา’


ท่อPVC จะมี ‘ราคาตั้ง’ ชัดเจน ซึ่งเป็นราคาที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้ผลิตทุกเจ้า ทุกแบรนด์ ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปสามารถศึกษาได้ง่าย บางคนก็เรียกสิ่งนี้ว่าราคากลาง ราคาขายปลีก หรือราคาตามอุตสาหกรรม


ราคาตั้ง ราคากลาง หรือราคาของปลีกของท่อประปาPVC ก็คือดังนี้ครับ


อย่างไรก็ตามหากคุณไปเดินหาซื้อท่อประปา PVC ตามร้านทั่วไป คุณก็คงเห็นว่าราคาของท่อประปา PVC แต่ละร้านนั้นไม่เท่ากันเท่าไหร่ นั่นก็เพราะว่าท่อแต่ละแบรนด์ แต่ละยี่ห้อ มีราคาขายส่งขายไม่เหมือนกัน มีทั้งท่อประปาแบบแพงคุณภาพดี และท่อประปาจากโรงงานขนาดเล็กคุณภาพรองลงมา


นั่นก็หมายความว่าต่อให้มีราคากลาง ราคาตั้ง เวลาเราซื้อท่อประปาPVC จากผู้จัดจำหน่าย เราก็ต้องศึกษาอยู่ดีว่าท่อแต่ละชนิดมีคุณภาพดีแค่ไหน คุ้มราคาหรือเปล่า หรือถ้าสำหรับคนที่มีงบมากหน่อย ไม่คิดมากอะไร ก็ซื้อท่อแบรนด์ดังที่มีรับประกันคุณภาพอย่างท่อ SCG ท่อน้ำไทยไปเลย (ซึ่งก็เริ่มหายากขึ้นเพราะบางร้านรับแค่ท่อราคาถูกมาขาย)


หากใครอยากศึกษาเรื่องราคาท่อพีวีซี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ดังนี้ ราคาท่อPVC แบบดูง่ายๆ - ท่อPVC, ท่อพีวีซีสีฟ้า, ท่อน้ำฟ้า และ ท่อและอุปกรณ์พีวีซีสำหรับขายส่ง



ราคาท่อประปา PPR


ท่อประปา PPR เป็นชนิดท่อประปาที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย ผู้บริโภคหลายคนอาจจะไม่รู้จัก ผู้รับเหมาช่างติดตั้งระบบหลายคนก็ยังไม่ค่อยชินกับวิธีการใช้งานเลย ซึ่งความหมายนี้เองก็ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อท่อประปา PPR นั้นค่อนข้างหายาก


เราจะเห็นได้ว่าท่อประปาPPR ไม่ได้มีราคากลาง หรือราคาตั้งอะไรที่เท่ากันทุกแบรนด์ ทุกผู้ผลิตเหมือนท่อPVC ซึ่งก็ทำให้ผู้ผลิตท่อ PPR หลายเจ้ามี ‘อิสระ’ ในการตั้งราคาพอสมควร เวลาคุณไปซื้อท่อ PPR ตามร้านคุณก็จะเห็นได้ว่าส่วนลดท่อPPR ค่อนข้างเยอะ เพราะเมื่อผู้ผลิตไม่ได้ถูกบังคับให้ตั้งราคาเท่ากันทุกแบรนด์ แต่ละเจ้าก็ตั้งราคาเท่าไรก็ได้ ตั้งราคาไว้ ‘เผื่อต่อ’ นั่นเอง


อย่างไรก็ตามผู้ผลิตท่อPPR ในประเทศไทยก็มีอยู่หลายเจ้า แต่เจ้าใหญ่ๆที่คนรู้จักกันเยอะก็จะมี SCG และ ThaiPPR เป็นต้น โดยที่ SCG ก็จะเป็นแบรนด์ใหญ่ที่แพงกว่า และ ThaiPPR ก็จะเป็นแบรนด์ที่มีราคาย่อมเยาจะมีผู้คนเสาะหามากกว่า


ราคาท่อประปาPPR ของThaiPPR สามารถดูตามภาพด้านล่างได้ หรือจะศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ราคาท่อPPR ท่อน้ำร้อน ท่อน้ำอุ่น พีพีอาร์- มือใหม่ก็ดูได้ง่ายๆ


ราคาท่อประปา PPR ท่อประปาPP-R ท่อน้ำอุ่น ท่อน้ำร้อน PN10 PN20

ท่อประปา และ สุขภัณฑ์ต่างๆ


สิ่งที่คนนึกถึงเวลาพูดถึงท่อประปา ก็คือการใช้งานประปาต่างๆ ซึ่งรวมถึงสุขภัณฑ์ต่างๆเป็นต้น สุขภัณฑ์ที่ผู้บริโภคทั่วไปใช้งานบ่อยๆก็เช่นก๊อกน้ำ สายชำระ ฝักบัว แล้วก็โถส้วมโถปัสสาวะต่างๆ


ซึ่งในกรณีนี้หากไม่ได้ใช้น้ำร้อนน้ำอุ่น ท่อประปามาตรฐานที่คนทั่วไปใช้กันก็คือท่อประปา PVC นั้นเอง และ ขนาดท่อประปา PVC ที่ใช้ต่อกับสุขภัณฑ์พื้นฐานก็คือท่อขนาด 4 หุนหรือครึ่งนิ้ว (½”) พี่จะเป็นพ่อย่อยที่จะลำเลียงน้ำประปามาจากท่อเมน ท่อประธานหลักอีกที


ท่อประปาที่ใช้ต่อกับสุขภัณฑ์ส่วนมากสามารถใช้แบบชั้นความดัน 8.5 ได้ (หมายถึงรับแรงดันน้ำได้ 8.5 bar) อย่างไรก็ตามท่อประปาPVC แบบชั้นความดัน 13.5 (มีความหนา ทนทานมากกว่า) ก็มีราคาไม่ได้ต่างกับท่อ 8.5 มากนัก คนที่มีงบมากหน่อยก็เลือกที่จะซื้อแบบชั้นความดัน 13.5 แทน สำหรับบ้านและอาคารทั่วไป จ่ายเพิ่มอีกไม่กี่พันบาทเพื่อความสบายใจ ป้องกันท่อรั่วท่อแตกไปอีกหลายสิบปีเลย


ท่อประปา และ ถังพักน้ำ


อีกหนึ่งส่วนของการดูท่อประปาก็คือ ถังพักน้ำ หรือถังน้ำใหญ่ๆที่เราเห็นอยู่บนตัวอาคารนั้นเอง ในการต่อท่อประปาให้ถูกลักษณะนั้น เราต้องต่อท่อเข้าจากมิเตอร์น้ำหนักเข้าไปในถังพักน้ำ หรือ แทงค์น้ำจองตัวอาคารบ้าน


ซึ่งหลังจากนั้นเราก็ต้องใช้ปั๊มน้ำเพื่อเร่งน้ำเข้ามาจากถังพักน้ำเข้าไปในตัวอาคารอีกทีนึง หากเราติดตั้งถังไว้วันตัวอาคาร ในกรณีนี้แรงโน้มถ่วงจะช่วยในการลำเลียงน้ำให้ดีขึ้นด้วย


ในส่วนนี้ก็ต้องมาดูกันว่าคนออกแบบระบบประปาในอาคารมีความรอบคอบมากแค่ไหน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ระบบประปาในบ้านมีปัญหาได้ ตั้งแต่วิธีการต่อท่อประปา จำนวนสุขภัณฑ์ในบ้าน แรงดันน้ำ จำนวนชั้นของตัวอาคาร หรือขนาดของปั๊มและวาล์วต่างๆ


ในบทความนี้ผมคงอธิบายได้แค่พื้นฐานการต่อระบบท่อประปา หากคุณต้องการออกแบบระบบท่อประปาสำหรับตัวอาคารหรือตัวบ้านคุณเอง ผมแนะนำให้สอบถามช่างประปาและคนออกแบบระบบดูก่อนอีกทีนะครับ


หลักการต่อท่อประปา


หลักการต่อท่อประปา ที่ถูกต้องก็คือเราต้องดูว่าการใช้งานของระบบประปาเราแต่ละส่วนเป็นอย่างไร


หากเราต้องการใช้งานน้ำอุ่นน้ำร้อน เราก็ต้องเลือกใช้ท่อ PPR


หากเราต้องการทำการลำเลียงน้ำเข้าสุขภัณฑ์ทั่วไป เราก็ควรใช้ท่อ PVC ผสมด้วยอุปกรณ์ข้อต่อต่างๆ

หรือหากเราต้องการทำท่อระบายอากาศ ท่อน้ำทิ้ง หรือท่อโสโครก เราก็จำเป็นต้องหาเลือกท่อ PVC ที่มีขนาดใหญ่กว่าท่อประปาที่ใช้ในการเดินระบบทั่วไป


หลักการเลือกท่อสำหรับการประปาได้แก่


#1 หากเป็นท่อน้ำอุ่นให้ใช้ท่อ PPR PN10 และน้ำร้อนเป็นท่อ PN20 ส่วนขนาดก็ขึ้นอยู่กับสุขภัณฑ์

#2 ท่อที่เหลือสามารถใช้เป็นท่อประปา PVC ได้โดยเราต้องเลือกตามขนาดและชั้นแรงดันที่ต้องการ

#3 ยกเว้นงานเฉพาะทางจริงเราค่อยเลือกท่อประปา เหล็กกัลวาไนซ์



10,576 views0 comments
bottom of page