top of page
Search
  • VLine

วางระบบน้ำเพื่อการเกษตร (ข้อแนะนำให้ประหยัดงบ และใช้ได้นาน)

การวางระบบน้ำในการเกษตรเป็นสิ่งที่เราควรจะใส่ใจ เพราะระบบน้ำที่ดีจะส่งผลถึงทั้งการเตรียมเมล็ด การเติบโตของพืชผล การ การใช้โภชนะเกษตร จำนวนของผลิตผล และคุณภาพขอผลิตผลด้วย


ระบบน้ำเพื่อการเกษตร ต้องอาศัยท่อเมน ซึ่งเป็นท่อที่จ่ายลำเลียงน้ำไปดังท่อย่อยที่ลำเลียงน้ำไปยังพืชของคุณอีกที ท่อเมนยิ่งใหญ่ยิ่งดีแต่แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของปั๊มน้ำด้วย ขนาดของปั๊มขึ้นอยู่กับพื้นที่การเกษตร ยิ่งต้องจ่ายน้ำไกลยิ่งต้องใช้ปั๊มใหญ่ ส่วนวิธีจ่ายน้ำไม่ว่าจะเป็นระบบหยดน้ำหรือสปริงเกอร์ก็ขึ้นอยู่กับพืชที่คุณปลูกอีกที

วางระบบน้ำเพื่อการเกษตร

วางระบบน้ำเพื่อการเกษตร


การออกแบบระบบน้ำเพื่อการเกษตรที่ดีต้องเริ่มจากการดูก่อนว่าคุณอยากปลูกอะไร และต้องลำเลียงน้ำไกลแค่ไหน สิ่งที่คุณปลูกจะบอกว่าคุณต้องใช้สปริงเกอร์ตัวไหน จ่ายน้ำได้เท่าไร หลังจากนั้นคุณจะสามารถคำนวณได้ว่าท่อย่อย ท่อเมน และปั๊มน้ำเท่าไรถึงจะดีที่สุด

หากออกแบบเล็กเกินไปก็จะจ่ายน้ำได้ไม่ถี่ถ้วนหรือจะมีอายุการใช้งานสั้น หากออกแบบให้ใหญ่เกินอาจจะดีต่อการขยายต่อในอนาคต แต่ถ้ามากเกินไปก็จะเปลืองงบประมานและใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่ต้องคิดถึงสำหรับการระบบน้ำเพื่อการเกษตร

เพื่อให้ระบบน้ำสำหรับการเกษตรของเราออกผลได้มากที่สุด เรามาดูปัจจัยที่เราต้องคิดก่อนที่จะออกแบบระบบน้ำเกษตรกันเริ่มจากปลายระบบสู่ต้นระบบ ก็คือ ชนิดพืชและสปริงเกอร์ ท่อย่อย กับ ท่อเมนและตัวปั๊ม


ชนิดพืชที่ปลูกกับระบบน้ำการเกษตร

ก่อนจะติดตั้งระบบน้ำ เราควรศึกษาการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกก่อน พืชบางชนิดเช่นกล้วยใช้น้ำน้อยกว่าพืชชนิดอื่นมาก พืชไม้ยืนต้นจำเป็นต้องมีสปริงเกอร์ช่วยรด แต่พืชจำพวกผักควรจะใช้การหยดน้ำมากกว่าเพราะหากสปริกเกอร์จะไปช่วยทำให้หญ้าโตด้วย


พืชที่เราปลูกจะเป็นตัวบอกว่าระบบน้ำต้องเป็น น้ำหยด สปริงเกอร์ หรืออย่างอื่น และหากเรายังไม่ได้ปลูกเต็มพื้นที่ เราอาจจะวางแผนล่วงหน้าด้วยการติดชุดคุมหัวแปลงไปก่อนก็ได้ การออกแบบที่ดีต้องคิดเผื่อต่อการขยายและการเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย ส่วนขั้นตอนในการลงขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของเราเอง


หากคุณปลูกพืชมากกว่าหนึ่งชนิด ถ้าเป็นไปได้ให้ปลูกพืชที่ใช้วิธีรดน้ำแบบเดียวกัน ไม่อย่างนั้นคุณจะต้องมาออกแบบวิธีการจ่ายน้ำให้เหมาะแต่ละชนิดต่อด้วย อีกอย่างหนึ่งก็คือคุณต้องระวังไว้ว่าพืชแต่ละชนิดจะแย่งสารอาหารในดินกันเองหรือเปล่า ทางที่ดีก็เว้นระยะไว้ระหว่างชนิดครับ


หากคุณปลูกพืชระยะยาว คุณต้องคำนวณถึงการเติบโตของรากของพืชด้วย หากพืชโตแล้วรากขยับตำแหน่ง ระบบน้ำของคุณจะจ่ายน้ำรองรับพืชพวกนี้ได้ไหม

ตัวอย่างหัวสปริงเกอร์ที่ใช้งานกันบ่อยๆมีดังนี้ครับ

  • สปริงเกอร์น้ำหยด มีอัตราการจ่ายน้ำประมาณ 1-20 ลิตรต่อชั่วโมง ลงทุนต่ำเหมาะกับการปลูกพืชระยะสั้น

  • มินิสปริงเกอร์ มีอัตราการจ่ายน้ำประมาณ 20-280 ลิตรต่อชั่วโมง แรงดันอยู่ที่ 1-3บาร์ เหมาะสำหรับรัศมีกระจายน้ำ 1.5-4 เมตร

  • มินิสปริงเกอร์แบบมีใบพัด มีอัตราการจ่ายน้ำประมาณ 200-400 ลิตรต่อชั่วโมง สามาระหมุนจ่ายน้ำได้และมีขาปัก เหมาะสำหรับรัศมีกระจายน้ำ 1.5-4 เมตร

  • สปริงเกอร์ใบ PVC เรียกอีกชื่อคือสปริกเกอร์หูช้าง สามารถจ่ายน้ำได้ประมาณ 360 ลิตรต่อชั่วโมง แรงดันอยู่ที่ 1.5บาร์ เหมาะสำหรับรัศมีกระจายน้ำ 3-5 เมตร เหมาะสำหรับสวนผลไม้ สวนยางเป็นต้น

ระยะปลูกและขนาดท่อย่อยในระบบน้ำเกษตร

ถ้าเรารู้แล้วว่าเราจะปลูกอะไร ใช้สปริงเกอร์จ่ายน้ำเยอะแค่ไหน ต่อไปเราต้องดูระยะปลูก หรือขนาดพื้นที่ของสวนเกษตรเรานั่นเอง


ระยะปลูกจะเป็นตัวบอกว่าท่อย่อยของคุณจะยาวแค่ไหน ใช้ความดันเท่าไร และใช้ขนาดไหน ซึ่งคุณก็คำนวณง่ายๆว่าสปริงเกอร์ที่คุณเลือกมา (จากความเหมาะสมของสิ่งที่ปลูก) ฉีดน้ำได้เท่านี้ต่อชั่วโมง ท่อจะต้องลำเลียงน้ำไปยังสปริงเกอร์ได้ในปริมาณที่เท่าเทียมกันนะ เช่นสปริงเกอร์ฉีดได้ 300 ลิตรต่อชั่วโมง คุณก็ต้องหาท่อและตัวปั๊มที่ลำเลียงปริมาณน้ำไปได้ในจำนวนเท่ากัน


ปกติแล้วท่อเมนใหญ่จะถูกตั้งไว้ตรงกลางแล้วใช้ข้อต่อสี่ทางเชื่อมเข้ากับท่อย่อยฝั่งซ้ายและขวาอีกทีให้สมมาตร ถ้าเราไม่กะระยะให้มันเท่ากันการจ่ายน้ำก็จะไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้ผลผลิตของเราโตไม่เท่ากันภายหลังครับ


ในขั้นตอนนี้เรายังไม่ต้องคิดมาก ข้ามไปอ่านเรื่องท่อเมนและปั๊มน้ำก่อนก็ได้ครับ

หลักการเลือกปั๊มน้ำเพื่อวางระบบน้ำการเกษตร

ปั๊มน้ำคือสิ่งที่ลำเลียงน้ำจากท่อประธาน (ท่อเมน) ไปสู่ท่อย่อยที่ลำเลียงไปสู่พืชผลอีกที ยิ่งท่อเมนใหญ่เรายิ่งมีปัญหาในการลำเลียงน้ำน้อยลง แต่ข้อเสียของการเลือกท่อเมนใหญ่ก็คือ เราต้องหาปั๊มที่มีขนาดเท่ากับท่อเมนด้วย ท่อเมน 1” ก็ต้องใช้ปั๊มน้ำ 1 แรงม้า ท่อเมน 2” ก็ต้องใช้ปั๊มน้ำ 2 แรงม้าเป็นต้น


ปั๊มน้ำจะเป็นสิ่งที่ควบคุม แรงดันน้ำ และ ระยะส่งของน้ำ หากเราเลือกปั๊มที่มีแรงดันเยอะ แล้วท่อรับแรงดันไม่ได้ท่อก็จะแตกครับ หากระบบน้ำเกษตรของคุณต้องลำเลียงน้ำไกลคุณก็ต้องเลือกท่อที่มีขนาดใหญ่หน่อย


ส่วนมากท่อเมนจะมีขนาด 2” ขึ้นไป ซึ่งเท่ากับว่าปั๊มน้ำก็ต้องใช้ 2 แรงม้าขึ้นไปด้วย ยกเว้นว่าเรามีแผนอยากจะขยายระบบท่อในอนาคตซึ่งคุณก็ควรวางแผนเอาท่อและปั๊มขนาดใหญ่มาลงก่อนเลยดีกว่า


สามารถดูความสามารถในการลำเลียงน้ำของท่อพีวีซีแบบลิตรต่อชั่วโมง ได้ข้างล่างครับ


การลำเลียงน้ำของท่อพีวีซีแบบลิตรต่อชั่วโมง

ข้างบนเป็นตารางแบบง่ายๆสำหรับท่อความดันต่ำ หากคุณมีพื้นที่น้อยแต่ต้องการฉีดสปิรงเกอร์แรงๆ คุณก็จำเป็นต้องใช้ปั๊มน้ำที่แรงขึ้น เท่ากับว่าคุณต้องดูแรงดันที่ท่อจะรับได้ด้วย แต่โดยปกติแล้วท่อเกษตรรับแรงดันได้ 4 บาร์ ส่วนท่อพีวีซี มอก. แบบบาง รับแรงดันน้ำได้ 5 บาร์


ออกแบบระบบน้ำการเกษตรจากสิ่งที่คุณอยากได้


สรุปก็คือการทำระบบน้ำเพื่อการเกษตรต้องอาศัยการออกแบบให้เหมาะสม โดยที่เราต้องเริ่มจากการดูว่าเราจะปลูกอะไร และต้องลำเลียงน้ำไกลแค่ไหน


หากคุณมีพืชที่อยากปลูกในใจ มีขนาดที่ดินที่จะปลูกแล้ว คุณก็จะรู้แล้วว่าคุณต้องลำเลียงน้ำไปยังสปริงเกอร์สำหรับชนิดนี้ด้วยปริมาณต่อชั่วโมงเท่าไร เท่ากับว่าคุณจะดูได้ว่าท่อย่อยคุณต้องขนาดเท่าไรถึงจะลำเลียงน้ำได้ขนาดนี้ และท่อเมนกับปั๊มน้ำของคุณก็ต้องมีขนาดและแรงม้ามากพอที่จะทำให้คุณลำเลียงน้ำได้ขนาดนี้ด้ว


อย่างไรก็ตามบางครั้งเราก็อาจจะต้องดูวัสดุที่ใช้ในงานเกษตรให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการปลูก ยกตัวอย่างเช่นหากคุณอยากปลูกพืชระยะยาวคุณอาจจะเลือกลงทุนกับวัสดุที่มีอายุการใช้งานมากหน่อย ซึ่งบางครั้งจะมีราคาแพงกว่าหรือมีสเป็กที่เกินความจำเป็นนิดหน่อย


ยกตัวอย่างเช่นหัวสปริกเกอร์แบบดี หรือท่อพีวีซีแบบหนาหน่อยเป็นต้น สินค้าบางอย่างตากแดดตากฝน มีคนเดินเหยียบบ่อยๆ อายุการใช้งานก็จะน้อยลง แต่หากคุณอยากจะลองทำดูก่อนหรือคิดอยากปลูกในระยะสั้นก็เลือกซื้อของได้ตามสบายเลยครับ


เป็นอย่างไรบ้างครับ ไม่ทราบวิธีคิดอย่างนี้ใช้ได้ผลดีไหม หากใครมีคำแนะนำเพิ่มสามารถคอมเม้นมาได้เลยนะครับ


29,721 views1 comment

1 commentaire


Phattaraphon SK Lm
Phattaraphon SK Lm
17 août 2021

รับวางระบบน้ำในสวนผลไม้มั้ยคะ


J'aime
bottom of page